บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ลักษณะข้อสอบสรุปความ

1) แบบเงื่อนไข   ถ้าเกิด [1] แล้วเกิด [2]  และเกิด [1] สรุปได้ว่าเกิด [2]

ตัวอย่างที่ 1 ถ้าฝนตก แล้วแดดจะออก วันนี้ฝนตก ฉะนั้น
ก. วันนี้ แดดไม่ออก
ข. วันนี้ แดดออก
ค. พรุ่งนี้ ฝนไม่ตก
ง. พรุ่งนี้แดดไม่ออก
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข

ข้อควรจำ เมื่ออ่านแล้วพบโจทย์แบบนี้ ซึ่งข้อความของโจทย์สมเหตุสมผล (Valid) ตามหลักตรรกวิทยา โปรดจำไว้เลยว่า จะต้องมีคำตอบที่ถูกต้อง

ในการท่องจำ ต้องท่องแบบนี้

ยันหน้า ยันหลัง


2) แบบเงื่อนไข   ถ้าเกิด [1]  แล้วเกิด [2]  และไม่เกิด [2] สรุปได้ว่าไม่เกิด [1]

ตัวอย่างที่ 2 ถ้าฝนตก แล้วแดดจะออก วันนี้แดดไม่ออก ฉะนั้น
ก. วันนี้ ฝนไม่ตก
ข. พรุ่งนี้ แดดจะออก
ค. พรุ่งนี้ แดดไม่ออก
ง. วันนี้ ฝนอาจจะตก
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก

ข้อควรจำ เมื่ออ่านแล้วพบโจทย์แบบนี้ ซึ่งข้อความของโจทย์เป็นไปตามหลักตรรกวิทยา โปรดจำไว้เลยว่า จะต้องมีคำตอบที่ถูกต้อง

ในการท่องจำ ต้องท่องแบบนี้


ปฏิเสธหลัง ปฏิเสธหน้า

รวมทั้ง 2 ลักษณะของต้น ขอให้ท่องจำไว้ว่า

ยันหน้า ยันหลัง
ปฏิเสธหลัง ปฏิเสธหน้า

3) แบบเงื่อนไข   ถ้าเกิด [1]  แล้วเกิด [2]  และไม่เกิด [1] แบบนี้ จะสรุปแน่นอนไม่ได้

ตัวอย่างที่ 3 ถ้าฝนตก แล้วแดดจะออก วันนี้ ฝนไม่ตก ฉะนั้น
ก. วันนี้ แดดไม่ออก
ข. วันนี้ แดดอาจจะออก
ค. พรุ่งนี้ แดดอาจจะไม่ออก
ง. พรุ่งนี้ ฝนจะตก
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้


ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ จ

ข้อควรจำ  โจทย์ในลักษณะนี้ ข้อความของโจทย์ไม่สมเหตุสมผล (Invalid) ตามหลักตรรกวิทยา คำตอบส่วนใหญ่จะเป็น “ยังสรุปแน่นอนไม่ได้”

อย่าเอาประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาตอบโจทย์ทางตรรกวิทยา เพราะ หลักการของตรรกวิทยาจะยึดความหมายที่ได้จากรูปแบบทางตรรกวิทยาเป็นหลัก

แม้ความหมายที่ได้จากรูปแบบดังกล่าว จะดูพิลึกพิลั่นเพียงไร ก็ต้องตีความไปตามหลักการอย่างนั้น

4) แบบเงื่อนไข   ถ้าเกิด [1]  แล้วเกิด [2]  และเกิด [2] แบบนี้ จะสรุปแน่นอนไม่ได้

ตัวอย่างที่ 4 ถ้าฝนตก แล้วแดดจะออก วันนี้ แดดออก ฉะนั้น
ก. วันนี้ ฝนจะตก
ข. วันนี้ ฝนไม่ตก
ค. พรุ่งนี้ ฝนจะตก
ง. พรุ่งนี้ แดดจะออก
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ จ

ข้อควรจำ เหมือนแบบที่ 3

5) แบบเงื่อนไข   จะเกิด [1]  หรือเกิด [2]  และไม่เกิด [1] แล้วสรุปได้ว่า เกิด [2] และถ้าไม่เกิด [2] แล้วสรุปได้ว่าเกิด [1]

ตัวอย่างที่ 5 ปีนี้ เขาจะต้องตกงาน หรือไม่ก็ต้องป่วยหนัก แต่เขาไม่ตกงาน ฉะนั้น
ก. เขาป่วยหนัก
ข. เขาไม่ป่วยหนักแล้ว
ค. เขาได้งานดี
ง. เขาตั้งใจทำงาน
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก

ข้อควรจำ เราต้องยึดตามรูปแบบทางตรรกวิทยาเท่านั้น

6) แบบเหตุบังคับ

ตัวอย่างที่ 6 นกทุกชนิดบินได้ ปลาเป็นนกชนิดหนึ่ง ฉะนั้น
ก. ปลาบินได้
ข. ปลาบินไม่ได้
ค. ปลาเป็นสัตว์น้ำ
ง. นกกินปลา
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก

ข้อควรจำ  ในการหาคำตอบของโจทย์ในลักษณะนี้ เราต้องใช้วงกลมของออยเลอร์ (Euler’s Circles) เข้ามาช่วยในการพิสูจน์
  


ขั้นแรก วงกลมให้ใหญ่ที่สุด นั่นคือ ขอบเขตของสัตว์ที่บินได้

ขั้นที่สอง เขียนวงกลมสำหรับนกทุกชนิด ไว้ในวงกลมแรก แสดงว่า นกทุกชนิดต้องบินได้ เพราะ อยู่ในขอบเขตของวงกลมบินได้

ขั้นที่สาม เขียนวงกลมของปลาไว้ในวงกลมที่สอง ซึ่งเป็นวงกลมของนก จะเห็นว่า ปลาอยู่ในวงกลมของสัตว์บินได้ด้วย

ดังนั้น ปลาจึงบินได้ตามหลักการของตรรกวิทยา

ขอย้ำ ห้ามนำความจริงในชีวิตประจำวันมาใช้กับข้อสอบลักษณะนี้






7 ความคิดเห็น:

  1. อาจารย์ค่ะ สงสัยเงื่อนไขที่2 ค่ะ
    2) แบบเงื่อนไข ถ้าเกิด [1] แล้วเกิด [2] และไม่เกิดเกิด [2] สรุปได้ว่าเกิด [1]

    ในตัวอย่างที่2 ตอบไม่เกิด ตรงกัน ปฏิเสธหลังปฏิเสธหน้า
    แต่เงื่อนไขทำไมสรุปว่าเกิด

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณค่ะ....ได้ความรู้และวิธีทำข้อสอบเพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ....

      ลบ
  2. ขอบคุณมากค่ะ มาอ่านทบทวน ดีมากๆเลย

    ตอบลบ
  3. ไม่ค่อยเข้าใจแบบที่3กับ4คะ

    ตอบลบ
  4. แล้วข้อสอบแบบนี้มันจะออกมาเพื่อ..

    ไม่ได้ช่วยให้ประเทืองปัญญาขึ่นเลย

    นี่แหละวิธีคัดคนเข้ารับราชการไทย


    แทนที่จะหาข้อสอบแนว มันสร้างสรรค์ ให้อยู่ในโลกของความเป็นจริง เพื่อจะได้พัฒนาองค์กร. แต่มาออกข้อสอบแนวตามใจฉัน ออกแบบกวนteen คือเก่งให้คายก็สอบไม่ติดถ้ามึงไม่ซื้อแนวจ้อสอบกูไปอ่าน. สึส!!!!

    ตอบลบ
  5. แบบเงื่อนขที่ 5 จำยากมากค่ะ ต้องกลับมาดูหลายๆรอบ

    ตอบลบ